การทำ หมวก ในศตวรรษที่ 18 และ 19
เป็นธุรกิจที่อันตราย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีหลายชนิด
ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ พิษจากสารปรอท
และถ้าต้องทำงานในห้องที่มีการระบายอากาศไม่ดี ช่างทำหมวกจะสูดดมควันปรอทจำนวนมากเข้าไป จนอาจทำให้สมองได้รับความเสียหายได้
มีความเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า
การเป็นพิษจากสารปรอทในหมู่ช่างทำหมวกนั้น เป็นที่มาของสุภาษิตที่เรียกว่า
“mad as a hatter” แม้แต่ตัวละครของ Hatter ในภาพยนตร์เรื่อง Alice's
Adventures in Wonderland ที่สวมหมวกอันเป็นสัญลักษณ์ของ Lewis Carroll
ก็ยังแสดงพฤติกรรมโรคจิตที่คล้ายกับคนที่ทุกข์ทรมานจากพิษของสารปรอท
ในการทำหมวกในฝรั่งเศสนั้น
มีการนำปรอทมาใช้เป็นครั้งแรก
โดยช่างทำหมวกจะเอาขนของสัตว์ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกระต่าย
แล้วกดด้วยไอน้ำและน้ำร้อนเพื่อให้เส้นใยรวมตัวกันเป็นผืนผ้า
ซึ่งชาวฝรั่งเศสค้นพบว่าการเติมเมอร์คิวริกไนเตรตจำนวนเล็กน้อยลงในน้ำร้อน
จะทำให้ขนที่หยาบกร้านนั้นอ่อนนุ่ม ทำให้รวมตัวเป็นผืนได้ง่ายขึ้น
ซึ่งการใช้ไนเตรตเมอร์คิวริกเป็นความลับทางการค้าที่ได้รับการพัฒนาโดยชาว
Huguenots แห่งฝรั่งเศส และไม่ได้รับการเปิดเผย จนกระทั่งชาว Huguenots
ถูกบังคับให้หนีไปอังกฤษ ที่ต่อมาพวกเขาก็แบ่งปันความลับนี้ให้กับกลุ่ม
hatter ชาวอังกฤษ
อาการส่วนใหญ่ของพิษจากสารปรอทคืออาการสั่น
การเคลื่อนไหวแบบกระตุกๆ ซึ่งมักจะเริ่มที่นิ้วมือจากนั้นลามไปที่เปลือกตา
ริมฝีปากและลิ้น เมื่ออาการแย่ลง การสั่นกระตุกจะผ่านต่อไปที่แขนและขา
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากมากที่ผู้ชายจะเดินได้
ซึ่งอาการเหล่านี้จะถูกเรียกว่า
“hatter’s shakes” อย่างไรก็ตาม
การเปลี่ยนแปลงที่น่าทึ่งที่สุดอยู่ที่พฤติกรรมของผู้ป่วยเอง
นั่นคือจะมีความหงุดหงิด ความมั่นใจในตัวเองต่ำ ความหดหู่ ไม่แยแส
ความประหม่าขี้อาย และในบางกรณีจะมีอาการเพ้อและสูญเสียความทรงจำ
ความเสียหายทางระบบประสาทและไต สูญเสียการได้ยิน เลือดออกจากหูและปาก และการสูญเสียฟัน ผมและเล็บ
โดยการเชื่อมต่อระหว่างสารปรอทและกลุ่มอาการ hatter syndrome นั้น เกิดขึ้นครั้งแรกในปี1829 ในกลุ่มผู้ผลิตหมวกใน St Petersburg ประเทศรัสเซีย และการศึกษาอย่างละเอียดเกี่ยวกับพิษของสารปรอทในกลุ่ม hatter ในรัฐนิวเจอร์ซี ที่จัดทำโดยแพทย์ชาวอเมริกัน J. Addison Freeman ในปี 1860
สรุปว่า
“ การคำนึงถึงสุขภาพของพลเมืองกลุ่มนี้อย่างเหมาะสมไม่ควรใช้ปรอทในการผลิตหมวก และหากจำเป็นต้องใช้ ห้องที่ตกแต่งหมวกควรมีขนาดใหญ่มีเพดานสูง และระบายอากาศได้ดี ” แต่น่าเสียดายที่การเรียกร้องของ Freeman ไม่ได้รับสนใจใดๆ
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
อันตรายจากการทำงานกับสารปรอทเป็นที่เข้าใจกันดีขึ้นมาก
แต่ผู้ผลิตหมวกเพียงไม่กี่รายที่ได้ดำเนินการบรรเทาทุกข์ โดยในปี1878 เมื่อ
Dr L. Dennis ไปเวิร์คช็อปการทำหมวกรอบ ๆ Essex เพื่อสอบถาม
คนงานหลายคนลังเลที่จะเปิดเผยความทุกข์ยากเพราะกลัวว่าจะตกงาน ถึงกระนั้น
Dr L. Dennis ก็พบว่าคนงานหนึ่งในสี่คนแสดงอาการพิษของสารปรอท
ต่อมา
สงครามโลกครั้งที่สองได้ทำการแก้ไขปัญหานี้
โดยการทำให้ปรอทมีค่าเกินกว่าที่จะใช้ในหมวกสักหลาด จนถึงปี1941
หน่วยงานด้านสาธารณสุขของสหรัฐอเมริกาเรียกร้องให้มีการห้ามใช้ไนเตรตปรอทโดยเปลี่ยนไปใช้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์แทน
Alice's Adventures in Wonderland ของ Lewis Carroll ซึ่ง John enniel นักวาดภาพประกอบชาวอังกฤษได้วาดภาพ Hatter สวมหมวกที่มี 10/6 เขียนอยู่ โดย10/6 หมายถึงราคาหมวก 10 ชิลลิงและ 6 เพนนีและต่อมากลายเป็นวันที่และเดือนเพื่อเฉลิมฉลอง Mad Hatter Day