การทำ หมวก ในศตวรรษที่ 18 และ 19
เป็นธุรกิจที่อันตราย เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการใช้สารเคมีหลายชนิด
ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ พิษจากสารปรอท
และถ้าต้องทำงานในห้องที่มีการระบายอากาศไม่ดี ช่างทำหมวกจะสูดดมควันปรอทจำนวนมากเข้าไป จนอาจทำให้สมองได้รับความเสียหายได้
มีความเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า
การเป็นพิษจากสารปรอทในหมู่ช่างทำหมวกนั้น เป็นที่มาของสุภาษิตที่เรียกว่า
“mad as a hatter” แม้แต่ตัวละครของ Hatter ในภาพยนตร์เรื่อง Alice's
Adventures in Wonderland ที่สวมหมวกอันเป็นสัญลักษณ์ของ Lewis Carroll
ก็ยังแสดงพฤติกรรมโรคจิตที่คล้ายกับคนที่ทุกข์ทรมานจากพิษของสารปรอท
ในการทำหมวกในฝรั่งเศสนั้น
มีการนำปรอทมาใช้เป็นครั้งแรก
โดยช่างทำหมวกจะเอาขนของสัตว์ซึ่งส่วนใหญ่มาจากกระต่าย
แล้วกดด้วยไอน้ำและน้ำร้อนเพื่อให้เส้นใยรวมตัวกันเป็นผืนผ้า
ซึ่งชาวฝรั่งเศสค้นพบว่าการเติมเมอร์คิวริกไนเตรตจำนวนเล็กน้อยลงในน้ำร้อน
จะทำให้ขนที่หยาบกร้านนั้นอ่อนนุ่ม ทำให้รวมตัวเป็นผืนได้ง่ายขึ้น
ซึ่งการใช้ไนเตรตเมอร์คิวริกเป็นความลับทางการค้าที่ได้รับการพัฒนาโดยชาว
Huguenots แห่งฝรั่งเศส และไม่ได้รับการเปิดเผย จนกระทั่งชาว Huguenots
ถูกบังคับให้หนีไปอังกฤษ ที่ต่อมาพวกเขาก็แบ่งปันความลับนี้ให้กับกลุ่ม
hatter ชาวอังกฤษ