จำแม่น ไม่มีลืม

 

จำแม่น ไม่มีลืม

วันแรกของการฝึกฝนความจำ คุณอาจจะจำได้เพียงสองสามอย่างจากรายการที่คุณต้องจำทว่าในวันต่อมาคุณอาจจำได้เพิ่มมากขึ้นเป็น 10 อย่าง และพอสัปดาห์ถัดไปคุณก็อาจจะจำได้มากถึง 20 อย่างเลยทีเดียว ผมมีสถิติโลกสองสามรายการที่อยากหยิบยกมาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการแข่งขันชิงแชมป์โลกด้านความจำประจำปี 1999 เขาสามารถจำลำดับของไพ่ที่สลับแล้วจำนวน 18 สำรับ (หรือคิดเป็นไพ่ทั้งหมด 936 ใบ) ภายในเวลา 1 ชั่วโมงเท่านั้นโดยไม่มีผิดพลาดเลยแม้แต่ใบเดียว

 

ซึ่งเป็นการสร้างสถิติโลกใหม่ขึ้นมา เขาเป็นเจ้าของสถิติโลกในการจำตัวเลข 74 หน่วย ซึ่งจะมีคนพูดให้ฟังด้วยอัตราความเร็ว 1 หน่วยต่อวินาทีนอกจากนี้ ยังมีสถิติส่วนตัวที่ดีที่สุดอีกอย่างหนึ่งคือจากการจำลำดับของไพ่ที่สลับกันจำนวน 52 ใบภายในเวลา 235 วินาที (แอนดี้เบลล์เป็นเจ้าของสถิติโลกที่เป็นทางการด้วยความเร็ว 34.01 วินาที) และเป้าหมายอีกอย่างหนึ่ง คือการเป็นเจ้าของสถิติโลกคนใหม่จากการจำตัวเลขทศนิยมให้ได้มากที่สุดภายในเวลา 5 นาที (ซึ่งเคยทำได้ดีที่สุดที่ 336 จุด) อีกด้วย

 

เราอาจกล่าวได้ว่า ความจำคือ หนึ่งในบรรดาศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งของมนุษย์สำหรับบรรพบุรุษของเรา แล้วความจำไม่ใช่เพียงแค่เครื่องช่วยให้อยู่รอดได้เท่านั้น แต่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันเลยทีเดียวในยุคที่ยังไม่มีเครื่องพิมพ์ ความจำเป็นเสมือนกระดานชนวนสำหรับการบันทึกประวัติศาสตร์อันเป็นวิถีทางที่เราใช้จัดการกับข้อมูลเพื่อช่วยให้เราอาศัยอยู่ในโลกใบนี้ได้ อุปกรณ์ที่ใช้ในการช่วยจำในยุคนั้นยังไม่ทันสมัย และเรียบง่ายถ้าข้อเท็จจริงหรือจำนวนต่างๆมีอยู่ไม่เกินปลายนิ้วของคนสมัยนั้นพวกเขาจะใช้วิธีจำเอา อันเป็นงานสำหรับคนฉลาดและมีจินตนาการสูง

 

ตลอดช่วงต้นประวัติศาสตร์ของมนุษย์การมีความจำที่ดีเป็นเงื่อนไขจำเป็นอย่างหนึ่งต่อการประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะบรรดาเหล่านักกวีผู้สร้างโคลงกลอนอันยิ่งใหญ่ อย่างเช่นโฮเมอร์ผู้อาศัยความจำของตัวเองในการถ่ายทอดงานมานานก่อนที่งานของเขาจะถูกบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และยังมีนักการเมืองนักเทววิทยาและนักปราชญ์ผู้ชักจูงใจผู้ฟังด้วยถ้อยคำที่น่าเลื่อมใส และจับใจสำหรับคนเหล่านี้ความจำเป็นสิ่งที่มีสีสันสว่างสดใส ภายในความคิดของพวกเขาในบทนี้เราจะมาดูกันว่ามนุษย์นั้นใช้ความจำอย่างไรและเราเข้าใจเรื่องความจำตลอดจนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาอย่างไรบ้าง 

 

เมื่อไม่นานมานี้ซึ่งอาจจะเป็นการพัฒนาเรื่องความจำที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดไม่ได้เกิดขึ้นในสมองของมนุษย์ แต่เกิดในเครื่องจักรทักษะความจำของเราถูกละทิ้งไปอย่างน่าเสียดายและเราเพิ่มการพึ่งพาอุปกรณ์ภายนอกเพื่อให้ช่วยจัดเก็บข้อมูลแทนตั้งแต่การมีวิดีโอไปจนถึงการใช้เครื่องบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล เราจัดอันดับเครื่องคอมพิวเตอร์จากขนาดความจำของมัน และความเร็วในการที่พวกมันเข้าถึงข้อมูลทำให้เราพิศวงกับความสามารถอันเหลือล้นของอินเทอร์เน็ต แต่เรากลับเฉยเมยที่จะเรียนรู้ถึงศักยภาพอันเต็มเปี่ยมที่มีอยู่ในสมองของมนุษย์ ไม่มีการสอนเรื่องทักษะในการจำที่โรงเรียน แต่เรากลับทดสอบเรื่องความจำผ่านการสอบไล่ คนส่วนใหญ่ไม่ล่วงรู้ว่าความจำเป็นสิ่งที่สามารถสร้างได้โดยการใช้เทคนิคที่ทุกคนก็สามารถทำได้ด้วยตัวเองเราจึงควรที่จะย้อนกลับไปดูคนรุ่นเก่าในอดีตแล้วฟื้นฟูความศรัทธาในเรื่องนี้ให้กลับคืนมาในใจให้ได้ 

 

จำแม่น ไม่มีลืม