มัมมี่คือศพที่ไม่เน่าเปื่อย มัมมี่ธรรมชาติเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ ทางธรรมชาติ เช่น การแช่แข็ง การตากแห้ง หรือการแช่น้ำ ส่วนมัมมีเทียมคือมัมมี่่ที่มนุษย์ตั้งใจทําขึ้นโดยใช้วิธีการต่างๆ เพื่อรักษาสภาพศพไม่ให้เน่าเปื่อย มัมมี่เทียมซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ มัมมี่ที่ทําขึ้นในอียิปต์โบราณ เมื่อนานมาแล้ว นักเดินทางจากเปอร์เซีย (ปัจจุบันคืออิหร่าน) คิดว่าสารเหนียว ๆ สีดําที่เรียกว่าบิกิวเมนคือวัตถุดิบ ที่ใช้ทํามัมมีอียิปต์ ภาษาเปอร์เซียของคําว่าบิกิวเมนคือมัมเมีย ซึ่งเป็นที่มาของคําว่า “มัมมี" ในภาษาอังกฤษ
มัมมี่เทียมยุคแรกเกิดขึ้นเมื่อ 7,000 ปีมาแล้ว โดยชาวซินชอร์โร แห่งทวีปอเมริกาใต้ ชนกลุ่มนี้ได้ชื่อ ตามสถานที่แห่งหนึ่งในประเทศชิลี ณ ที่แห่งนั้น นักวิทยาศาสตร์ได้พบ ร่องรอยการดําเนินชีวิตของชาวชินชอร์โร พวกเขาเป็นชาวประมงที่อยู่รวมกันเป็น ชุมชนเล็กๆ ริมชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก
เชื่อกันว่า ชาวซินซอร์โรทํามัมมีขึ้นเพราะ เชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย พวกเขาพยายาม ทําให้มัมมี่ดูเหมือนมีชีวิตมากที่สุด ซึ่งแสดงให้ เห็นว่าพวกเขาไม่ต้องการให้ร่างกายของคนผู้นั้น เน่าเปื่อย บางทีคนกลุ่มนี้อาจเชื่อว่าคนตาย จะฟื้นคืนชีวิตขึ้นได้หากศพได้รับการรักษาไว้
ในการทํามัมมี่ ชาวซินซอร์โรจะนํา อวัยวะภายในทั้งหมดออกจากศพเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงเลาะเนื้อและหนังออกจากกระดูก ปล่อยทิ้งไว้จนแห้ง แล้วจึงใช้ไม้เล็กๆ ผูกติด กับแขน ขา และกระดูกสันหลัง เพื่อยึด กระดูกส่วนต่างๆ ไว้ด้วยกัน จากนั้นจึงนําโคลน สีขาวมาพอกบนโครงกระดูกเพื่อทําให้เป็นรูปเป็นร่าง นําผิวหนังบริเวณใบหน้ากลับไปปะไว้ที่เดิม เช่นเดียวกับหนังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เมื่อโคลนแห้งแล้ว จึงทาด้วยสีดําหรือแดง
มัมมีมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุด ของยุโรปรู้จักกันในชื่อมนุษย์น้ำแข็ง เขาเสียชีวิตเมื่อประมาณ 5,300 ปีก่อน ซึ่งเป็นช่วงปลายยุคหิน นักปีนเขา พบร่างของเขานอนคว่ำหน้าอยู่บน ธารน้ำแข็งบริเวณตอนเหนือ ของอิตาลีเมื่อปี 1991
น้ำแข็งช่วยรักษาเสื้อผ้าของมัมมี่ ด้วยเช่นกัน เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ ได้เห็นการแต่งกายของมนุษย์ยุคหิน มนุษย์น้ำแข็งสวมเครื่องห่อหุ้มขาและรองเท้า ทําจากหนังสัตว์ สวมเสื้อคลุมหนังแพะ หมวกหนังหมี และผ้าคลุมทําด้วยหญ้าถัก สิ่งเหล่านี้ช่วยให้มนุษย์น้ำแข็งอบอุ่น ท่ามกลางอากาศอันเหน็บหนาว