ผลสำรวจจาก BBC Future 2018 ระบุว่า จำนวนชั่วโมงการใช้งานบนโลกออนไลน์มากเกินไป ไม่สามารถชี้วัดเป็นตัวเลขได้ เนื่องจาก ผลที่ได้แตกต่างกันในแต่ละบุคคล การใช้งาน 2-3 ชั่วโมงต่อวันอาจมากสำหรับบางคน แต่อาจเป็นเรื่องปกติของคนที่ต้องใช้งานออนไลน์ตลอดทั้งวัน
ในยุคดิจิทัลนี้ ไม่แปลกที่หลายๆ คนใช้เวลามากมายไปกับโลกออนไลน์ ทั้งใช้หาข้อมูล เล่นโซเชียลมีเดีย หรือดูหนังฟังเพลงต่างๆ แต่จะรู้ได้อย่างไรว่าเราเริ่มท่องเที่ยวไปกับโลก ออนไลน์มากเกินไป ถ้าคุณมีสัญญาณจากร่างกาย อารมณ์ และสังคมเหล่านี้ ดังนั้นคำว่ามากเกินไปจึงพิจารณาจากผลเสียที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาที่เกิดกับร่างกายด้านต่าง ๆ หรือปัญหาต่ออารมณ์และกระบวนการคิด ร่างกาย จิตใจ และ สังคม
ร่างกาย
- ตาล้า / ตาแห้ง จากการใช้สายตาในการเพ่งมองหน้าจอมากเกินไป นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดปัญหาตาแห้งเป็นต้อลม และนัยน์ตาแพ้แสงได้ รวมถึงปัญหาสายตาสั้นในเด็ก
- ปวดหัว เพราะเพ่งมองหน้าจอมากเกินไป จนกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสตึงเครียด ที่เกี่ยวกับประสาทสัมผัสในส่วนต่าง ๆ จนนำไปสู่อาการปวดศีรษะ รวมถึงกระตุ้นการเกิดโรคไมเกรน
- ปวดคอและหลัง เพราะนั่งในท่าทางเดียวติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งอาจลามไปถึงปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง และการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบริเวณลำคอและไหล่
- นิ้วล็อก จากการใช้งานนิ้วหัวแม่มือ หรือข้อมือในลักษณะซ้ำเดิมมากเกินไป ส่งผลให้เส้นเอ็นทับเส้นประสาท ข้อมือ ซึ่งจะทำให้มีอาการมือชาและนิ้วล็อก
- นอนไม่หลับ จากแสงสีฟ้าจากหน้าจอที่ส่งออกมา จะขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเมลาโทนินที่เปรียบเหมือนนาฬิกาชีวภาพ ทั้งยังกระตุ้นให้ร่างกายเข้าใจว่าเป็นเวลาของการตื่นนอน ผลที่ตามมาจึงทำให้เกิดอาการนอนหลับไม่เพียงพอ ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคหัวใจ โรคปอด โรคไต หรือแม้แต่ปัญหาด้านการควบคุมน้ำหนัก
จิตใจ
- ขาดความมั่นใจในตนเอง เพราะเสพข้อมูลข่าวสารหรือรับรู้เรื่องราวของคนอื่นในโลกโซเชียลมีเดียมากเกินไป จนเกิดเปรียบเทียบ ทำให้มั่นใจในตนเองน้อยลง รู้สึกว่าชีวิตของตนเองด้อยกว่าผู้อื่น และอาจนำไปสู่อาการซึมเศร้าได้
- สมาธิสั้น มีผลการวิจัยจากม.เวอร์จิเนีย อเมริกา ระบุว่า การใช้สมาร์ทโฟนมากเกินไป ทำให้เกิดอาการคล้ายคลึงโรคสมาธิสั้นได้ คือ ไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน จนขาดสมาธิในการทำงาน คนในปัจจุบันมีสมาธิในการจดจ่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เฉลี่ยราว 8-12 วินาที ซึ่งสั้นกว่าปลาทองที่มีสมาธิในการให้ความสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งราว 9 วินาที
- โรคซึมเศร้า พฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดีย ระบุว่าแม้ยอด Like หรือฟีดแบ็ก ที่เป็นบวกในโลกออนไลน์ จะช่วยเพิ่มสารโดพามีนที่ทำให้เรารู้สึกดีขึ้นได้ก็จริง แต่ปัญหาที่ตามมาคือ ความรู้สึกดีดังกล่าวนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราว ซึ่งในระยะยาวกลับทำให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้าแทนได้ หากไม่ได้รับการตอบสนองที่ดีอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงผู้ใช้งานยังเกิดความคาดหวังที่จะได้รับการตอบสนองจากผู้อื่นอย่างทันทีทันใดมากจนเกินไป
สังคม
- ทักษะการเข้าสังคมต่ำ มักเกิดกับเด็กหรือวัยรุ่น โดยจะมักหลีกเลี่ยงการพูดคุยในรูปแบบการเผชิญหน้า และจะสบายใจกว่า ถ้าสื่อสารในรูปแบบของการส่งข้อความ
- ภาวะโดดเดี่ยว สืบเนื่องจากการหลีกเลี่ยงการเข้าสังคม ทำให้รู้สึกโดดเดี่ยวและแปลกแยก ซึ่งความรู้สึกเช่นนี้สามารถนำไปสู่ภาวะของโรคซึมเศร้าได้ หากทิ้งไว้นานเกินไปน่าจะมีผลกระทบต่อครอบครัว รวมถึงแม่ที่ติดโซเชียล ซึ่งส่งผลต่อการเลี้ยงลูกโดยให้เด็กใช้อุปกรณ์ สื่อสาร