พาราเซตามอล ในสมัยโบราณมีการใช้เปลือกต้นหลิว willow เป็นยาลดไข้ antipyretic และมีการค้นพบสารเคมีในเปลือกต้นหลิวคือ ซาลิซิน salicins
ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นแอสไพริน aspirin ได้
นอกจากนี้ยังค้นพบว่าในเปลือกซิงโคนา cinchona มี ควินิน quinine ที่มีฤทธิ์เป็นยาแก้ไข้ได้ซึ่งต่อมาถูกนำมาใช้เป็นยารักษามาลาเรีย
ในปี ค.ศ. 1880 เกิดภาวะขาดแคลนต้นซิงโคนา จึงได้มีคนพยายามที่จะหาทางเลือกสำหรับยาลดไข้ จนมีการค้นพบยาลดไข้ตัวใหม่คือ
• ปี ค.ศ. 1886 พบ อะซิตานิไลด์ (acetanilide)
• ปี ค.ศ. 1887 พบ ฟีนาซิตีน (Phenacetin)
ขณะเดียวกันในปี ค.ศ. 1873 ฮาร์มอน นอร์ทรอป มอร์ส (Harmon Northrop Morse)
ก็สามารถสังเคราะห์ พาราเซตามอล โดยปฏิกิริยารีดักชั่น พารา-ไนโตรฟีนอล
(p-nitrophenol) กับดีบุกในกรดอะซิติก (acetic acid)
แต่ก็ยังไม่มีการนำพาราเซตามอลมาใช้เป็นยาลดไข้ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1893
ได้มีการตรวจพบพาราเซตามอลในปัสสาวะของผู้ที่ใช้ยาฟีนาซิตีน
และยังค้นพบว่าอะซิตานิไลด์
จะถูกเปลี่ยนเป็นพาราเซตามอลในร่างกายก่อนจึงสามารถออกฤทธิ์ลดไข้ได้ในปี
ค.ศ. 1899
เนื่องจาก พาราเซตามอล (paracetamol) หรือ อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen)
เป็นยาบรรเทาอาการปวด (analgesics)
ไม่มีผลข้างเคียงเรื่องการระคายเคืองผนังกระเพาะอาหาร
และการแข็งตัวของเลือดเหมือนยากลุ่มเอ็นเซด (non-steroidal
anti-inflammatory NSAIDs) เช่น ยาแอสไพริน ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen)
หากใช้ในขนาดการรักษาปกติ
ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่ค่อยรู้พิษสงของยานี้เท่าไหร่
นอกจากนี้ยังสามารถหาซื้อได้ง่ายโดยไม่ต้องมีใบสั่งยาจากแพทย์
เป็นเหตุให้ปริมาณการใช้ยาตัวนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
พาราเซตามอลกลายเป็นยาประจำบ้านที่ขายดิบขายดี เป็นอะไรก็กินแต่พาราเซตามอล
ปวดศีรษะ ไข้หวัด ก็พาราเซตามอล ปวดหลัง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
ก็พาราเซตามอล ยิ่งกว่านั้นบางรายปวดท้อง เวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน
ก็กินพาราเซตามอล ซึ่งพาราเซตามอลก็คงไม่ได้ช่วยอะไร
ทำได้แค่ให้สบายใจขึ้นเพราะได้กินยาแล้ว บ้างก็มัวแต่ผลัดวันประกันพรุ่ง
ไม่ยอมไปหาหมอรักษากัน พลอยทำให้โรคที่เป็นลุกลามมากขึ้น
ต้องเสียเงินรักษามากขึ้นโดยใช่เหตุ